10 วิธีรับมือ “ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ” จนพ่อแม่ต้องปวดตับ

ในภาษาอังกฤษ เราเรียกมันว่า “The Witching Hour” ถ้าแปลไทยก็คงแปลว่า ชั่วโมงแม่มด หรือ “ชั่วโมงการกรีดร้องของลูกน้อย” ซึ่งจริงๆ มีหลายชื่อ และหลายอาการที่ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ แต่ในที่นี้จะพูดถึง The Witching Hour นะค้า

Liesel Teen เป็นพยาบาลคลอดบุตร คุณแม่ลูกสอง และเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เว็บไซต์ และ Instagram ที่มีชื่อว่า Mommy Labor Nurse

ซึ่งให้เกียรติพวกเรา (Crane Inc) มากๆ ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และแบ่งปันทิปที่ช่วยแก้ปัญหาที่หนักอกสำหรับคุณพ่อคุณแม่

The Witching Hour คืออะไร ?

หลังจากที่คุณแม่นำลูกน้อยกลับมาบ้านเป็นครั้งแรก นั่นเป็นโมเม้นท์ที่มีความสุขที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้ และไม่มีอะไรดีไปกว่าการกอดลูกน้อยที่แสนจะน่ารัก จริงไหมคะ?

แต่แน่นอนว่า ก็ต้องมาพร้อมกับความท้าทายใหม่ที่อาจทำให้พ่อแม่หลายๆ คนต้องปวดหัวไปตามๆ กันซึ่งความท้าทายที่พบบ่อยอย่างหนึ่งที่คุณแม่หลายคนต้องเจอ คือ ลูกของคุณนั้นจะจุกจิก งอแงมากๆ เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงทุกๆเย็น

อุแว๊ อุแว๊ แง๊ๆๆ!! T^T

เสียงนี้คุ้นเคยกันล่ะสิ? อยากบอกเลยนะคะว่า คุณไม่ได้ประสบกับเรื่องนี้อยู่เพียงคนเดียว ช่วงเวลาอันน่าสนุกนี้ (ประชดนะคะ) เรียกว่า “ชั่วโมงการกรีดร้องของลูกน้อย” หรือว่า “The Wiching Hour” นั่นเอง

ชั่วโมงการกรีดร้องของลูกน้อย หรือ ลูกกริ๊ดโดยไม่มีสาเหตุ เป็นช่วงเวลาที่ลูกของเรานั้นจุกจิก งอแง วอแว T^T ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของทุกๆวัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายแก่ๆ เป็นต้นไป

โดยปกติจะเริ่มระหว่างสัปดาห์ที่ 2 ถึง 3 และสูงสุดประมาณสัปดาห์ที่ 6 จากนั้นจะลดลงเมื่อผ่านไปประมาณ 3 เดือน

สิ่งหนึ่งที่ยากที่สุดเกี่ยวกับ “อาการลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ”

คือ การที่แม่ไม่รู้ว่า ลูกนั้นต้องการอะไร!! และจะต้องทำอย่างไรดี!! แม้ว่าพฤติกรรมนี้จะจัดการได้ยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายๆคน แต่อยากจะย้ำให้อีกรอบว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญและเป็น “พฤติกรรมชั่วคราว” นะคะ

ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ แตกต่างกับ โคลิค (COLIC)?

“การร้องไห้ แบบไม่มีสาเหตุ” นั้นแตกต่างจาก “โคลิค (COLIC)” โดยโคลิคเป็นคำที่ใช้เรียกทารกที่มีการร้องไห้เป็นช่วงๆ สม่ำเสมอ ยาวนาน และรุนแรง โดยปกติ หมายถึงการร้องไห้ ที่ลูกน้อยร้องไห้นานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และ 3 สัปดาห์ขึ้นไป

ถ้าลูกของคุณมีอาการโคลิค มันอาจเป็นเรื่องยากมาก และมีโม้เม้นท์ที่ว่า “ไม่รู้จะแก้ยังไง” ซึ่งถือเป็นเรื่องที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็รู้สึกเหมือนกัน

ดังนั้น 10 เคล็ดลับด้านล่างนี้จะสามารถช่วยลูกน้อยที่มีอาการเหล่านี้ได้เลยค่าาา!!! แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่กังวลมากๆ ขอแนะนำให้คุณพูดคุยกับกุมารแพทย์ของลูกน้อยด้วยนะ

10 เคล็ดลับเอาตัวรอดสำหรับพ่อแม่

เอาล่ะ!! ถ้าคุณแม่อ่านมาถึงนี้แล้ว แปลว่าคุณอาจกำลังมองหาเคล็ดลับในการผ่านช่วงอันท้าทายและเหน็ดเหนื่อยนี้ไปได้ นี่คือสิ่งที่ได้รวบรวมมา ซึ่งได้จากคำแนะนำของคุณแม่หลายๆคน ในชุมชน Mommy Labour Nurse

1. ให้ลูกใส่ชุดเด็กอ่อนแบบห่อตัว สิ่งนี้จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และหลับสนิท เหมือนมีคนมาโอบกอดอยู่ ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกสงบ และสบายตัวกว่าที่คุณคิดอีกด้วย

2. จับลูกเล่น ใช้เพลย์ยิม (Play Gym) เปลไกวเด็ก หรืออุ้มลูก คุณแม่หลายคนบอกว่าลูกๆ ของพวกเขาชอบที่จะถูกอุ้มไว้ในขณะที่พวกเขากระเด้งเบาๆ ไม่ว่าจะเป็นบนลูกโยคะ เตียงเปลของเด็ก และที่แนะนำ คือ เจ้า Play Gym ซึ่งให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น การฝึกคลาน ฝึกการสัมผัส ได้อีกด้วย

3. การดื่มนม หรือให้นมลูก ทารกที่กินนมแม่หลายคนมักต้องการดูดนมมากๆ ในช่วงเวลาที่ร้องไห้ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ถูกอยู่แล้วค่ะ !! อันที่จริงมันยอดเยี่ยมมากเลยแหละ เพราะการให้นมลูกเป็นมากกว่าการป้อนอาหาร แต่เป็นสิ่งที่ส่งผ่านความรู้สึกถึงกันได้อีกด้วยค่า

4. ลองทำ 5 สิ่งนี้ดูกันนะคะ – ห่อตัว, จุ๊บท้อง, ดูดท้อง, จับข้างท้อง และ แกว่งไปมา พูดง่ายๆ คือ หากิจกรรมทำกับลูก ทั้งสัมผัส และเล่นกับลูก จะช่วยให้ลูกสนุก และลืมการร้องไห้ได้อย่างดีเลยล่ะค่ะ

5. เปลี่ยนบรรยากาศ!!! คุณพ่อคุณแม่หลายคน พาลูกอออกมาเดินข้างนอกทุกเย็น (หรือทุกเช้า) ทุกวัน เพื่อฝึกให้ลูกรับอากาศข้างนอก และเปลี่ยนบรรยากาศ ซึ่งหากคุณพบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ล่ะก็ มันก็ได้ผลเช่นเดียวกันค่ะ

คุณสามารถนำลูกไปเดินเล่นหรือให้ลูกอยู่ในรถเข็นก็ได้ หรือทำอะไรก็ได้ที่ดูเหมือนจะช่วยให้พวกลูกน้อยมีความสุขมากขึ้นค่าาา ^^

6. “ลดสิ่งเร้า เพื่อลดเสียงร้อง” โดยการให้ลูกอยู่ในห้องมืด การมีสิ่งเร้ามากระตุ้นมากเกินจนไป เช่น ของเล่นเยอะจนเลือกไม่ถูก เล่นแปปๆ มีของเล่นใหม่มาอีกแล้ว หรืออาจมีสื่อเยอะเกินไป สำหรับทารก

บางครั้งการให้ลูกเข้าไปในห้องที่มืด และเงียบ และอาจใช้เสียง White Noise อาจสามารถช่วยคุณได้มากกว่าที่คุณคิด

7. การให้ลูกเรอหรือลดแก๊ส แก๊สเป็นตัวการที่พบบ่อยในช่วงที่ลูกกรีดร้อง ซึ่งการร้องไห้มากเกินไปอาจทำให้ทารกกลืนอากาศมากขึ้นและสร้างวงจรหนืด ลองจับลูกน้อยจองคุณนอนหงายและทำท่าปั่นจักรยานอากาศเพื่อปล่อยก๊าซ บู๊ดด บู๊ดด ออกมาได้เลยค่า

8. ให้ลูกผ่อนคลายโดยการอาบน้ำ คุณแม่จำนวนมากเชื่อสุภาษิตโบราณที่ว่า เพียงแค่เติมน้ำ!! การอาบน้ำอุ่นช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริงค่าา การให้ลูกอาบน้ำอุ่นจะช่วยทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกน้อยอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายมากขึ้นได้

9. ผลัดไม้ให้คุณสา… (สามีทีรัก) สุดที่รักของคุณก็สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้เช่นกันนะอย่าลืม! ไม่สามีแล้วก็ใช้เค้าบ้างอย่าปล่อยให้ตัวเหนื่อยอยู่คนเดียว นี้เป็นเหตุผลที่คุณแต่งงานกับเขานะ >< นี่เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากชั่วโมงการกรีดร้องของลูกน้อยกระตุ้นคุณและทำให้คุณเหนื่อยมากๆ

10. พักบ้างก็ดี ถ้าลูกคุณอยู่ในที่ที่ปลอดภัย หากลูกของคุณได้ทานอาหารแล้ว กินนมเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในที่ที่ปลอดภัย (นอนหงายในเปล) คุณก็สามารถเดินออกมาสักครู่เพื่อให้เวลาอยู่กับตัวเองบ้างก็ได้นะ อย่าลืมว่าคุณไม่สามารถดูแลคนอื่นได้ถ้าคุณไม่ยอมดูแลดัวเองนะคะ

มันเป็นเพียงเวลาชั่วคราวเท่านั้น!!

สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องจำเกี่ยวกับ “ชั่วโมงการกรีดร้องของลูกน้อย” คือ มัน..เป็น..เพียง..เวลา..ชั่วคราว..เท่านั้น!!! ฉันไม่มั่นใจเลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกๆของฉันไปบ้างตอนที่ฉันผ่านเหตุการนี้ไป แต่อยู่ๆวันหนึ่ง…คุณก็จะมารู้ตัวอีกทีว่า คุณไม่ได้ต้องรับมือกับการร้องไห้ทุกคืนอีกต่อไป….โล่งใจขึ้นเยอะ!!!

คุณสามารถผ่านมันไปได้ค่ะ!! คุณแม่คะ…จากคำแนะนำในรายการนี้ หวังว่ามันจะช่วยไม่มากก็น้อย ตอนนี้คุณได้เคล็ดลับและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชั่วโมงการกรีดร้องของลูกน้อยไปแล้ว อย่าลืมไปลองใช้กันดูนะคะ ^^

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองที่ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save